สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 สิงหาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.102 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.16 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.711 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.86 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,305 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,112 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,044 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,813 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,883 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 18,783 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.00                                         
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,562 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 896 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,569 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,993 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 648 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,495 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 572 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,515 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2,980 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 646 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,245 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,413 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2,832 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7141 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 อินโดนีเซีย
สํานักข่าว AFP รายงานว่า ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รัฐจัดหาพื้นที่สำหรับปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ภายหลังจากประชุมเกี่ยวกับการเตรียมการจัดหาข้าวเพื่อสำรองไว้ภายในประเทศ
นายชาห์รุล ยาซิน ลิมโป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย กล่าวว่า ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมีความพร้อมในการเตรียมที่ดินเพื่อปลูกข้าว โดยมั่นใจว่าถ้าอินโดนีเซียสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว 3.125 ล้านไร่ จะสามารถ
ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์เอลนีโญได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคาดว่าสต็อกข้าวที่มีอยู่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 ทำให้ข้าวประมาณ 300,000-1,200,000 ตัน ไม่เพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ ดังนั้น หากสามารถจัดหาพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นได้สำเร็จตามเป้าหมาย คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 3 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 1.5 ล้านตันข้าวสาร
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 สิงคโปร์
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า สำนักงานอาหารสิงคโปร์ (the Singapore Food Agency : SFA) กําลังดำเนินการขอยกเว้นจากการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติของอินเดีย โดยระบุว่า สิงคโปร์นำเข้าข้าวขาวที่ไม่ใช่
ข้าวบาสมาติจากอินเดีย ประมาณร้อยละ 17 ของปริมาณข้าวที่นำเข้าทั้งหมด และในปี 2565 มีการนำเข้าข้าวจากอินเดียประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณข้าวที่นําเข้าทั้งหมด ซึ่งในแต่ละปีสิงคโปร์นําเข้าข้าวจากแหล่งต่างๆ ประมาณ 30 ประเทศ
ทั้งนี้ ภายใต้โครงการเก็บสต็อกข้าวของสิงคโปร์ (Singapore’s Rice Stockpile Scheme) กำหนดให้ผู้นําเข้าข้าว ต้องมีสินค้าคงคลังสํารองไว้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของการนําเข้าข้าวต่อเดือน เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าจะมีข้าวเพียงพอสำหรับจำหน่ายในประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,678.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 334.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,419.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 259.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 481.00 เซนต์ (6,657.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 491.00 เซนต์ (6,687.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 30.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.648 ล้านตัน (ร้อยละ 1.98 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.82 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.84
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.50 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.24
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,420 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐ (9,270 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,630 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,310 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.389 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.43 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.27 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.98 บาท ลดลงจาก กก.ละ 31.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.65
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ความต้องการน้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์ราคาน้ำมันถั่วเหลืองและราคาน้ำมันทานตะวันที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากข้อกังวลด้านผลผลิตของถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาและอาร์เจนตินา และปัญหาข้อตกลง Black sea grain deal ระหว่างยูเครนและรัสเซียที่หมดไป ทำให้ราคาน้ำมันทานตะวันสูงขึ้น โดยปริมาณการส่งออกของมาเลเซียเดือนกรกฎาคมสูงถึง 1.35 ล้านตัน และอินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนกรกฎาคมสูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 60
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,702.21 ริงกิตมาเลเซีย (28.72 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,782.14 ริงกิตมาเลเซีย (29.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.11
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 942.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 957.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย (ISMA) คาดการณ์ว่า ประเทศอินเดียสามารถผลิตน้ำตาลได้ 31.68 ล้านตันในปี 2566/2567 ซึ่งลดลง 3.41 % เมื่อเทียบกับปี 2565/2566 ที่ 32.8 ล้านตัน โดยอินเดียจะเหลือน้ำตาลในสต็อกปลายปีอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านตัน ด้านผู้ค้ารายงานว่า ปริมาณฝนในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) และรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ในปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 39 % ในขณะที่อัตราการนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลอาจจะสูงถึง 5.1 ล้านตัน เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำตาลของฤดูกาลใหม่ที่ดีขึ้น
         -  Covrig Analytics คาดการณ์ว่า ปี 2566/2567 น้ำตาลโลกจะขาดดุล (Deficit) ที่ 2.2 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่ Czarnikow คาดการไว้ว่าจะขาดดุลโดยประมาณที่ 900,000 ตัน ด้านนักวิเคราะห์ชาวจีน คาดการณ์ว่า ราคาน้ำตาลโลกจะสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากการขาดดุล แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้น การเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้นในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล กำลังส่งผลในเชิงลบต่อราคาน้ำตาล
         - ผู้สังเกตการณ์ตลาด ระบุว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบ และน้ำตาลทรายขาวร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์เนื่องจากมีสัญญาณด้านเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงอยู่ในภาวะผันผวน และความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 24.00 บาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.6
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,418.6 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,437.2 เซนต์ (18.31 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.2
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 431.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 450.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.2
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.58 เซนต์ (51.55 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 67.34 เซนต์ (51.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.1


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,919 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,091 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,413 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,495 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 932 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 958 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการบริโภคทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.44 คิดเป็นร้อยละ 1.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 79.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.94 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.26 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.50 คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 44.97 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ลดลงจากตัวละ 14.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท  ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 365 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 363 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 378 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 399 ลดลงจากร้อยฟองละ 401 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 376 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.26 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.35 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.50 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.32 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.42 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 112.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา